สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 | Institute of Vocational education Northern Region 2

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน

มาตรฐาน
ตัวบ่งชี้
ไฟล์เอกสาร
มาตรฐานที่ 1
ด้านผลลัพธ์ผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม
เกณฑ์การประเมิน
ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินทุกหลักสูตรที่สถาบันรับผิดชอบ จากคะแนนเต็ม 5
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2561 และเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ.2562
เกณฑ์การประเมิน
ค่าเฉลี่ยของคะแนนประเมินคุณภาพบัณฑิตจากทุกหลักสูตรที่สถาบันรับผิดชอบ จากคะแนนเต็ม 5
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 ผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และงานวิจัยของนักศึกษาและผู้สำเร็จการศึกษา
เกณฑ์การประเมิน
แปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้าหนักของผลงานสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมหรืองานวิจัยของนักศึกษา และผู้สำเร็จการศึกษา เป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 50
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 นักศึกษาทุกหลักสูตรในสถาบันที่ประเมินมาตรฐานวิชาชีพผ่านในครั้งแรก
เกณฑ์การประเมิน
แปลงค่าร้อยละของนักศึกษาทุกหลักสูตรในสถาบันที่ประเมินมาตรฐานวิชาชีพผ่านในครั้งแรกเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 นักศึกษาทุกหลักสูตรในสถาบันที่สอบผ่านสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษระดับ B2 หรือเทียบเท่า
เกณฑ์การประเมิน
โดยการแปลงค่าร้อยละของนักศึกษาทุกหลักสูตรในสถาบันที่สอบผ่านสมิทธิภาพทางภาษาอังกฤษระดับ B2 หรือเทียบเท่า เป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 นักศึกษาทุกหลักสูตรในสถาบันที่สอบผ่านการประเมินมาตรฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
เกณฑ์การประเมิน
ร้อยละของนักศึกษาทุกหลักสูตรในสถาบันที่สอบผ่านการประเมินมาตรฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100
ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกฝังจิตสานึกต่อสาธารณะ เสริมสร้างการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
เกณฑ์การประเมิน
โดยการแปลงค่าร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกต่อสาธารณะ เสริมสร้างการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง เป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100
มาตรฐานที่ 2
ด้านการวิจัยและนวัตกรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบ กลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยและผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เกณฑ์มาตรฐาน
1. มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
2. สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ในประเด็นต่อไปนี้
2.1 ห้องปฏิบัติการหรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัย หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษา (Co-Learning Space) และสนับสนุนการวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
2.2 ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
2.3 สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรือการผลิตผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
2.4 กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ร่วมกับภาคประกอบการ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
3. จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
4. จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
5. มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัยมีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ดีเด่น
6. มีระบบและกลไก เพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เครือข่ายความร่วมมือการสนับสนุนงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เกณฑ์มาตรฐาน
1. สถาบันจัดทำแผนส่งเสริมความร่วมมือ การสนับสนุนงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างสถาบัน กับภาคประกอบการ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศเปิดอ่าน
2. สถาบันสร้างเครือข่ายความร่วมมือการสนับสนุนงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างสถาบันกับภาคประกอบการ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศเปิดอ่าน
3. สถาบันดำเนินการพัฒนางานวิจัย และผลงานทางวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กับเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันกับภาคประกอบการ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
4. สถาบันประเมินความสำเร็จของความร่วมมือการสนับสนุนงานวิจัยและผลงานทางวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างสถาบันกับภาคประกอบการ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศเปิดอ่าน
5. นำผลการประเมินตามข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาความร่วมมือการสนับสนุนงานวิจัยและผลงานทางวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างสถาบันกับภาคประกอบการ ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศเปิดอ่าน
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจาสถาบัน
เกณฑ์การประเมิน
โดยการแปลงค่าร้อยละของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำสถาบันเป็นคะแนนระหว่าง 0-5 กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20
มาตรฐานที่ 3
ด้านการบริการวิชาการ
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
เกณฑ์มาตรฐาน
1. กำหนดชุมชน หรือองค์กรเป้าหมายของการให้บริการแก่สังคมโดยความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ในสถาบัน
2. จัดทำแผนการบริการวิชาการและวิชาชีพโดยความมีส่วนร่วมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและสังคม
3. ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคมตามแผนที่กำหนด
4. ประเมินความสำเร็จของโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการและชุมชนหรือองค์กรเป้าหมาย ได้รับการพัฒนาและมีความเข้มแข็ง มีหลักฐานปรากฏชัดเจน
5. นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงแผนหรือพัฒนาการให้บริการวิชาการสังคม
6. องค์กรหรือชุมชนตามเป้าหมายมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
มาตรฐานที่ 4
ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและความเป็นไทย
เกณฑ์มาตรฐาน
1. จัดทำแผนด้านทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและความเป็นไทยและกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
2. ดำเนินการตามแผนงาน โครงการด้านทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและความเป็นไทย
3. ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและความเป็นไทย
4. นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและความเป็นไทย
5. เผยแพร่องค์ความรู้และกิจกรรมหรือการบริการด้านทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน และสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม ชุมชน และประเทศชาติ
มาตรฐานที่ 5
ด้านการบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารงาน ตามพันธกิจ เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของสถาบัน
เกณฑ์มาตรฐาน
1. พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของสถาบัน และพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์
2. การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหลักสูตรดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3. ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบัน และให้ระดับความเสี่ยงลดลง
4. บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
5. การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ
6. การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรในสถาบัน
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ความร่วมมือกับภาคประกอบการ
เกณฑ์มาตรฐาน
1. สถาบันมีแผนการพัฒนาความร่วมมือจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ภายใต้ความร่วมมือตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
2. ดำเนินการจัดการศึกษาตามแผนการพัฒนาความร่วมมือจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
3. สถาบันกำกับ ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีตามแผนการพัฒนาความร่วมมือจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
4. สถาบันประเมินผลการดำเนินการตามแผนการพัฒนาความร่วมมือจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
5. นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงหรือพัฒนา แผนการพัฒนาความร่วมมือจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
เกณฑ์มาตรฐาน
1. มีระบบและกลไกในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถาบัน ให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน
2. มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถาบัน
3. กำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหลักสูตรในสถาบันมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่สถาบันกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
4. นำผลการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตรและระดับสถาบัน เสนอต่อสภาสถาบัน เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ
5. นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภาสถาบันมาปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาและการดำเนินงานให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6. มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน